พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522
1. สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522
2. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่3) พ.ศ.2542
3. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 พ.ศ.2561
4. กฎกระทรวง ฉบับที่ 14(พ.ศ.2535) ออกตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522
5. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ
6. คำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่ 1/2558 เรื่อง การไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาในราชอาณาจักร
7.บันทึกคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522(ฉบับที่5)พ.ศ.2541 เรื่องมอบหมายให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเปรียบเทียบ
สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522
คำนิยามศัพท์ (มาตรา 4)
คนต่างด้าว หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
เจ้าของพาหนะ หมายความรวมถึงตัวแทนเจ้าของ ผู้เช่า ตัวแทนผู้เช่า ผู้ครอบครอง หรือตัวแทนผู้ครอบครองพาหนะ แล้วแต่กรณี
ผู้ควบคุมพาหนะ หมายความว่า นายเรือหรือผู้รับผิดชอบในการควบคุมพาหนะ
คนประจำพาหนะหมายความว่า ผู้ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำหรือทำงานประจำพาหนะ และเพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้หมายความรวมถึงผู้ควบคุมพาหนะซึ่งขับขี่พาหนะโดยไม่มีคนประจำพาหนะ
คนเข้าเมืองหมายความว่า คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร
เจ้าบ้าน หมายความว่า ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของผู้เช่า หรือในฐานะอื่นใด ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร
ลักษณะต้องห้ามของคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร
มาตรา 12
1. ไม่มีหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางอันถูกต้องและสมบูรณ์อยู่หรือมีแต่มิได้รับการตรวจลงตราฯจากสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยฯ
2. ไม่มีปัจจัยยังชีพตามสมควรแก่กรณีที่เข้ามาในราชอาณาจักร
3. เข้ามาเพื่อทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการคนต่างด้าว
4. วิกลจริตหรือมีโรคอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎกระทรวง
5. ยังมิได้ปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ หรือฉีดวัคซีน
6. เคยได้รับโทษจำคุก
7. มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคมหรือถูกรัฐบาลต่างประเทศออกหมายจับ
8. มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเข้ามาเพื่อค้าประเวณี การค้าหญิงหรือเด็ก ค้ายาเสพติด ลักลอบหนีภาษี
ศุลกากร
9. ไม่มีเงินติดตัวหรือไม่มีประกันตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
10. รัฐมนตรีไม่อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามาตรา 16
11. ถูกรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างประเทศเนรเทศ หรือเพิกถอนสิทธิการอยู่ในราชอาณาจักร
ความผิดและอัตราโทษตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่สำคัญ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท
1.กรณีคนต่างด้าว
ลำดับ |
ข้อหาหรือฐานความผิด |
มาตรา |
อัตราโทษ |
เปรียบเทียบปรับตามบันทึกคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ |
1 |
เขามาหรืออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งมิใชชองทางดานตรวจคน เขาเมือง เขตทา สถานี หรือทองที่ และตามกําหนดเวลาตามที่รัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา |
ม.11,62 |
จำคุกไม่เกินสองปีปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ผู้กระทำผิดสัญชาติไทยปรับไม่เกินสองพันบาท |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าแปดร้อยบาท หากถูกจับกุมให้ปรับไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันหกร้อยบาท(สัญชาติไทย) |
2 |
เข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรโดยไมยื่นรายการตามแบบ และไมผานการตรวจอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่ |
ม.18 วรรคสอง,62 |
จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ผู้กระทำผิดสัญชาติไทยปรับไม่เกินสองพันบาท
|
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าแปดร้อยบาท หากถูกจับกุมให้ปรับไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันหกร้อยบาท(สัญชาติไทย) |
3 |
คนต่างด้าวหลบหนีไปจากพาหนะหรือหลบหนีไปในระหว่างส่งตัวไปยังสถานที่ใดที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้สั่งให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะควบคุมตัวไว้หรือส่งตัวไปสถานที่ใดที่หนึ่งหรือหลบหนีไประหว่างถูกกักตัวหรือควบคุมตามอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ |
ม.72 |
จำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาท ถ้าหากจับกุมมา ปรับไม่ต่ำกว่าสองหมื่นบาท |
4 |
คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ประกอบอาชีพหรือรับจ้างทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อสังเกต : 1.ยกเว้นอาชีพห้ามคนต่างด้าวทำงานโดยเด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มาตรา 6,23 2.หากทำงานแตกต่างจากใบอนุญาต หรือสถานที่ทำงานแตกต่างจากใบอนุญาต ก็เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มาตรา 21,38 |
ม.37(1) , 75 |
จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าห้าพันบาท หากถูกจับกุม ปรับไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาท |
5 |
คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ไม่พักอาศัย ณ ที่ที่ได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ |
ม.72(2) , 76 |
ปรับไม่เกินห้าพันบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสองร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันบาท ถ้าถูกจับ ปรับไม่ต่ำกว่าสองพันบาท และปรับอีกวันละสองร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง |
6 |
คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ไม่แจ้งการเปลี่ยนที่พักต่อเจ้าพนักงานตำรวจภายใน 24 ชั่วโมง |
ม.73(3) , 76 |
ปรับไม่เกินห้าพันบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสองร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันบาท ถ้าถูกจับ ปรับไม่ต่ำกว่าสองพันบาท และปรับอีกวันละสองร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง |
7 |
คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ไม่แจ้งการเดินทางไปจังหวัดอื่นและอยู่ในจังหวัดนั้นเกิน 24 ชั่วโมง ต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจท้องที่ภายใน 48 ชั่วโมง |
ม.37(4) , 76 |
ปรับไม่เกินห้าพันบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสองร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันบาท ถ้าถูกจับ ปรับไม่ต่ำกว่าสองพันบาท และปรับอีกวันละสองร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง |
8 |
คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ไม่แจ้งที่พักอาศัยของตนเมื่อครบ 90 วัน หรือทุกระยะ 90 วัน |
ม.37(5) , 76 |
ปรับไม่เกินห้าพันบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสองร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันบาท ถ้าถูกจับ ปรับไม่ต่ำกว่าสองพันบาท และปรับอีกวันละสองร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง |
9 |
คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการอนุญาตสิ้นสุด หรือถูกเพิกถอน |
ม.81 |
จำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับวันละหนึ่งร้อยบาทนับแต่วันที่การอนุญาตสิ้นสุดหรือถูกเพิกถอน แต่รวมแล้วไม่เกินสองหมื่นบาท |
2.เจ้าของพาหนะ
ลำดับ |
ข้อหาหรือฐานความผิด |
มาตรา |
อัตราโทษ |
การเปรียบเทียบปรับตามบันทึกคณะกรรมการเปรียบเทียบฯ |
1 |
เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะไม่นำพาหนะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง เขตท่า สถานี หรือท้องที่และตามกำหนดเวลาตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา และภายในพาหนะนั้นมีคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร โดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ |
ม.23 , 63 วรรค 2 |
จำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท |
|
2 |
เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะไม่นำพาหนะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง เขตท่า สถานี หรือท้องที่ และตามกำหนดเวลาตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา |
ม.23 , 65 |
จำคุกไม่เกินห้าปีแบะปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
ผู้ประทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาท ถ้าถูกจับกุม ปรับไม่ต่ำกว่าสองหมื่นบาท |
3 |
เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะ ไม่แจ้งกำหนดวันและเวลาที่พาหนะจะเข้ามาถึง หรือจะออกจากเขตท่า สถานี หรือท้องที่ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง |
ม.25 66 |
จำคุกไม่เกินสองเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าสองพันบาท ถ้าถูกจับกุม ปรับไม่ต่ำกว่าสี่พันบาท |
4 |
เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะไม่ยื่นรายการตามแบบและผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่และภายใต้เงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด |
ม.26 วรรค 1 ,66 |
จำคุกไม่เกินสองเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าสองพันบาท ถ้าถูกจับกุม ปรับไม่ต่ำกว่าสี่พันบาท |
5 |
เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะไม่ยื่นบัญชีคนโดยสารและบัญชีคนประจำพาหนะรวมทั้งผู้ควบคุมพาหนะต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง และภายในเวลาที่อธิบดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด |
ม.27(2) , 66 |
จำคุกไม่เกินสองเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าสองพันบาท ถ้าถูกจับกุม ปรับไม่ต่ำกว่าสี่พันบาท |
6 |
เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะให้คนโดยสารหรือคนประจำพาหนะไปเสียจากพาหนะหรือสถานที่ที่จัดไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ |
ม.27(1) , 67 |
ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาท ถ้าถูกจับกุม ปรับไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นห้าพันบาท |
7 |
เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ |
ม.27(3) , 67 |
ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาท ถ้าถูกจับกุม ปรับไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นห้าพันบาท |
8 |
เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมไม่แจ้งการเพิ่มหรือลดหรือเปลี่ยนคนประจำพาหนะที่เข้ามาในหรือที่จะออกไปนอกราชอาณาจักร หรือคนประจำพาหนะที่ไม่กลับออกไปนอกราชอาณาจักรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ |
ม.28 วรรค1 ,68 |
ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าห้าพันบาท ถ้าถูกจับกุม ปรับไม่ต่ำกว่าแปดพันบาท |
9 |
เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะไม่นำคนประจำพาหนะที่ไม่กลับออกไปและคนประจำพาหนะนั้นเป็นคนต่างด้าวไปมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ |
ม.28 วรรค2 , 69 |
ปรับเรียงรายตัวคนละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าห้าพันบาท ถ้าถูกจับกุม ปรับไม่ต่ำกว่าแปดพันบาท |
10 |
เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะมีคนโดยสารซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ไม่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางอันถูกต้องและยังสมบูรณ์อยู่หรือมีแต่ยังไม่ได้รับการตรวจลงตราจากสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศหรือกระทรวงการต่างประเทศ |
ม.12(1) , 70 |
ปรับเรียงรายตัวคนละไม่เกินสองหมื่นบาท |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าคนละหนึ่งหมื่นบาทบาท ถ้าถูกจับกุม ปรับไม่ต่ำกว่าคนละหนึ่งหมื่นห้าพันบาท |
11 |
เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะไม่จัดการควบคุมคนต่างด้าวที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักร หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักรไว้ในพาหนะหรือส่งตัวไปยังสถานที่ใดเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ควบคุมไว้ตรวจสอบหรือให้ส่งตัวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร |
ม.29 วรรค1 ,71 |
จำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท |
|
12 |
เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งสั่งให้หยุดพาหนะหรือนำพาหนะไปยังที่ใดที่หนึ่งตามที่จำเป็นเพื่อการตรวจ |
ม.30 , 73 |
จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าสองหมื่นบาท ถ้าถูกจับกุม ปรับไม่ต่ำกว่าห้าหมื่นบาท |
3.บุคคลทั่วไป
ลำดับ |
ข้อหาหรือฐานความผิด |
มาตรา |
อัตราโทษ |
การเปรียบเทียบปรับตาม บันทึกคณะกรรมการเปรียบเทียบฯ |
1 |
นำพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรหรือกระทำการด้วยประการใดๆ อันเป็นการอุปการะหรือช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่คนต่างด้าวให้เข้ามาในราชอาณาจักร |
ม.63 |
จำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท |
|
2 |
ให้เข้าพักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวซึ่งรู้ว่าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ เพื่อให้พ้นจากการจับกุม |
ม.64 |
จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท เว้นแต่เป็นการกระทำเพื่อช่วยเหลือบิดา มารดา บุตร สามี หรือภริยาของผู้กระทำศาลจะไม่ลงโทษก็ได้ |
|
3 |
ขึ้นไปบนพาหนะหรือนำพาหนะอื่นเข้าเทียบพาหนะซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้าไปในบริเวณหรือสถานที่จัดไว้เพื่อการตรวจก่อนพนักงานเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจเสร็จ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ |
ม.31 , 74 |
ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าร้อยบาท ถ้าถูกจับกุม ปรับไม่ต่ำกว่าห้าร้อยบาท ถ้าผู้กระทำผิดเป็นเจ้าของหรือผู้ควบคุมพาหนะปรับไม่ต่ำกว่าห้าพันบาท |
4 |
ขึ้นไปบนพาหนะหรือนำพาหนะอื่นเข้าเทียบพาหนะที่จะออกไปนอกราชอาราจักรหรือบริเวณหรือสถานที่ที่เพื่อการตรวจในระหว่างผู้ที่จะออกไปนอกราชอาณาจักรยังมิได้ขึ้นไปบนพาหนะ |
ม.32 , 74 |
ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าสามร้อยบาท ถ้าถูกจับกุมปรับไม่ต่ำกว่าห้าร้อยบาท ถ้าผู้กระทำผิดเป็นเจ้าของหรือผู้ควบคุมพาหนะปรับไม่ต่ำกว่าห้าพันบาท |
5 |
เจ้าบ้าน เจ้าของ หรือผู้ครอบครองเคหสถาน หรือผู้จัดการโรงแรม รับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเข้าพักอาศัยแล้วไม่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 24 ชั่วโมง |
ม.38 , 77 |
ปรับไม่เกินสองพันบาท แต่ถ้าเป็นผู้จัดการโรงแรม ปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าห้าร้อยบาท ถ้าถูกจับกุมปรับไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันบาท ถ้าผู้กระทำผิดเป็นผู้จัดการโรงแรมมอบตัวปรับไม่ต่ำกว่าสามพันบาท ถ้าถูกจับกุมปรับไม่ต่ำกว่าห้าพันบาท |
6 |
ผู้ถือหรือผู้ครอบครองไม่ส่งคืนใบสำคัญถิ่นที่อยู่ที่ใช้ไม่ได้ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ครอบครองไม่ส่งใบสำคัญถิ่นที่อยู่ของคนต่างด้าวที่ตายให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ |
ม.49 , 78 |
ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท |
ผู้กระทำผิดมอบตัวหรือมาตามหมายเรียก ปรับไม่ต่ำกว่าสองร้อยบาท ถ้าถูกจับกุมปรับไม่ต่ำกว่าสี่ร้อยบาท |