คำอธิบายสรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2551
สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติ
เป็นกฎหมายที่วางโครงสร้างและกำหนดสถานภาพของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ โดยจัดให้โรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัย) ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์ในการผลิตบุคลากรเพื่อประกอบวิชาชีพตำรวจตามความต้องการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมถึงการส่งเสริมงานวิชาการ วิจัย ฝึกอบรม และให้บริการสังคมเกี่ยวกับวิชาชีพตำรวจ
โครงสร้างของพระราชบัญญัติโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2551
แบ่งเป็น 5 หมวด
โครงสร้างของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ[1]
สภาการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปของโรงเรียนและมีอำนาจเฉพาะตามมาตรา 12 (1) (14)
![]() |
สภาคณาจารย์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม พัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ตามมาตรา 19
สภาคณาจารย์ ประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน 10 คน โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้[3]
คณะกรรมการส่งเสริมกิจการโรงเรียน
มีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุนการดำเนินการ รวมทั้งหารายได้ให้กับโรงเรียน
คณะกรรมการส่งเสริมกิจการโรงเรียน ประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน 15 คน โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้[4]
การศึกษาในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
1. หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.) ปัจจุบันรับจากนักเรียนเตรียมทหารเท่านั้น โดยคัดเลือกจาก
1.1 นักเรียนจบชั้น ม.4 หรือเทียบเท่า เพศชาย อายุ 16 - 18 ปี และมีคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น เป็นผู้มีสัญชาติไทย โสด มีความประพฤติดี มีรูปร่างเหมาะสมกับการเป็นนักเรียนเตรียมทหารหรือตำรวจ เป็นต้น
1.2 ข้าราชการตำรวจ ซึ่งเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจหรือข้าราชการตำรวจชั้นประทวน เพศชาย อายุไม่เกิน 24 ปี และมีคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น เป็นผู้มีสัญชาติไทย โสด ส่วนสูงไม่น้อยกว่า 160 ซม. รอบอกไม่น้อยกว่า 77 ซม. มีความประพฤติดี เป็นต้น
ผู้มีคุณสมบัติจะต้องผ่านการสอบคัดเลือกทั้งในส่วนวิชาการ (ข้อเขียน) และส่วนสมรรถภาพร่างกาย (พลศึกษา) จึงจะมีสิทธิเข้าศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร (ระยะเวลาศึกษา 2 ปี) และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจโดยไม่ต้องสอบคัดเลือกอีก
เงื่อนไขและหลักเกณฑ์การรับสมัครต่าง ๆ โปรดติดตามในเว็บไซต์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
http://admission.rpca.ac.th/register/
2. หลักสูตรอื่น ๆ รับจากบุคคลภายนอกหรือข้าราชการตำรวจก็ได้ และเงื่อนไขหลักเกณฑ์การ รับสมัครเป็นไปตามประกาศรับสมัครในแต่ละหลักสูตร
หลักสูตรที่เปิดสอน (ปัจจุบัน)
1. ระดับปริญญาตรี
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ
หลักสูตรควบปริญญาตรี 2 ปริญญา (รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ และนิติศาสตรบัณฑิต) รับเฉพาะ นรต. เท่านั้น (เริ่มปีการศึกษา 2561)
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (เริ่มปีการศึกษา 2561)
2. ระดับปริญญาโท
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจัดการความปลอดภัย
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบังคับใช้กฎหมาย
3. หลักสูตรการอบรมอื่น ๆ
หลักสูตรนักบริหารยุคใหม่เพื่องานพิทักษ์สันติราษฎร์ (บพส.)
หลักสูตรการฝึกอบรมผู้มีวุฒิทางนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร (กอต.)
หลักสูตรการฝึกอบรมข้าราชการตำรวจและบุคคลที่บรรจุหรือโอนมาเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร (กอส.)
หลักสูตรการฝึกอบรมการฝึกอบรมข้าราชการตำรวจชั้นประทวนผู้มีวุฒิปริญญาตรีขึ้นไป เพื่อแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร (กอน.)
หลักสูตรการฝึกอบรมข้าราชการตำรวจชั้นประทวนยศดาบตำรวจหรือจ่าสิบตำรวจ เพื่อแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร (กอร.) เป็นต้น
การสำเร็จการศึกษา
ตามกฎหมาย โรงเรียนนายร้อยตำรวจมีอำนาจอนุมัติปริญญาได้ 3 ระดับชั้น คือ ชั้นปริญญาเอก (ดุษฎีบัณฑิต - ด.) ชั้นปริญญาโท (มหาบัณฑิต - ม.) และชั้นปริญญาตรี (บัณฑิต - บ.) ซึ่งในปัจจุบันมีการกำหนดปริญญาในสาขาต่าง ๆ ดังนี้
1. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มีปริญญา 3 ชั้น
ชั้นปริญญาเอก เรียกว่า รัฐประศาสนศาสตรดุษฏีบัณฑิต (รป.ด.) และปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (ปร.ด.)
ชั้นปริญญาโท เรียกว่า รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
ชั้นปริญญาตรี เรียกว่า รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
2. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มีปริญญา 2 ชั้น คือ
ชั้นปริญญาเอก เรียกว่า วิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิต (วท.ด.) และปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (ปร.ด.) ชั้นปริญญาโท เรียกว่า วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
3. สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มีปริญญา 3 ชั้น คือ
ชั้นปริญญาเอก เรียกว่า ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิต (ศศ.ด.) และปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (ปร.ด.) ชั้นปริญญาโท เรียกว่า ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
ชั้นปริญญาตรี เรียกว่า ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
นอกจากนี้ โรงเรียนนายร้อยตำรวจมีอำนาจออกประกาศนียบัตร อนุปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิต ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สำหรับสาขาวิชาใดก็ได้ และมีอำนาจมอบปริญญากิตติมศักดิ์แก่บุคคลใดก็ได้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะถือว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา มีสิทธิแต่งครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะของโรงเรียนนายร้อยตำรวจได้
ความผิดอาญาและบทกำหนดโทษ
ความผิดฐานใช้ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ ครุยประจำตำแหน่งของโรงเรียน โดยไม่มีสิทธิจะใช้ หรือแสดงว่าเป็นผู้มีตำแหน่ง หรือปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ประกาศนียบัตรบัณฑิต อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตร โดยไม่มีสิทธิ เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่าตนมีตำแหน่งหรือวิทยฐานะเช่นนั้น มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุ ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ ครุยประจำตำแหน่งของโรงเรียน เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของโรงเรียน พ.ศ. 2554 มาตรา 4 5 และ 6 ตามลำดับ
[1] ประกาศโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการเป็นคณะ สถาบัน ศูนย์ หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ.2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ปัจจุบันเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561)
[2] พ.ร.บ.โรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2551มาตรา 10
[3] พ.ร.บ.โรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2551 มาตรา 16
[4] พ.ร.บ.โรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2551 มาตรา 19 ประกอบข้อบังคับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ว่าด้วยจำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของประธานและกรรมการส่งเสริมกิจการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ การประชุมและการดำเนินการของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2551
[5] คณะนิติวิทยาศาสตร์ Forensic Science RPCA, https://www.facebook.com/forensic.rpca.ac.th/posts/925624157541822., (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2563
[6] อินธนู เครื่องราช เครื่องหมาย, https://www.facebook.com/chicmodernstyle/posts/2412696402279231/. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2563