การโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง U
การโฆษณา คือ การบอกกล่าว แจ้งความ ชี้แจง แนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นแก่ประชาชน โดยผู้ที่จะทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงไฟฟ้าและไมโครโฟน จะต้องขอรับอนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ก่อน แล้วจึงจะทำการโฆษณาได้ โดยเจ้าหน้าที่จะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และเครื่องอุปกรณ์ไว้ในใบอนุญาตด้วย หากมีการฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท หรือ 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน และเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี
การขออนุญาต
ประเภทของใบอนุญาต
การโฆษณาที่ไม่เป็นไปทำนองการค้า |
10 บาท |
อนุญาตไม่เกิน 15 วัน |
การโฆษณาที่เป็นไปทำนองการค้า |
โฆษณาเคลื่อนที่ 60 บาท โฆษณาประจำที่ 75 บาท |
อนุญาตไม่เกิน 5 วัน |
เงื่อนไขในการโฆษณา
1. |
ต้องใช้ภาษาไทย หรือภาษาพื้นเมืองในไทย เท่านั้น |
2. |
ห้ามใช้เสียงระยะใกล้กว่า 100 เมตร จากโรงพยาบาล วัดหรือที่บำเพ็ญศาสนกิจ ทางแยกที่มีการสัญจรคับคั่ง |
|
โรงเรียนระหว่างทำการสอน หรือบริเวณศาลในระหว่างพิจารณา |
3. |
ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต |
ข้อควรรู้ë
การเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดังรบกวนจนทำให้ประชาชนเดือดร้อน อาจมีความผิดตามกฎหมายอาญา ข้อหาทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
· พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
· พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493 พ.ศ.2494
· พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496
· พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499
· กฎกระทรวง (พ.ศ.2493) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3. ประมวลกฎหมายอาญา
แบบคำขอ ฆษ.1