การชุมนุมสาธารณะ
การชุมนุมสาธารณะ หมายความว่า การชุมนุมของบุคคลในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยแสดงออกต่อประชาชนทั่วไป และบุคคลอื่นสามารถร่วมการชุมนุมนั้นได้ ไม่ว่าการชุมนุมนั้นจะมีการเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายด้วยหรือไม่
ทั้งนี้ กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ ไม่ใช้บังคับกับการชุมนุมเนื่องในงานพระราชพิธีหรืองานรัฐพิธี พิธีกรรมทางศาสนาหรือตามประเพณีหรือวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น การจัดแสดงมหรสพ กีฬา การท่องเที่ยว หรือกิจกรรมอื่นเพื่อประโยชน์ทางการค้าปกติของผู้จัดนั้น การชุมนุมภายในสถานศึกษาหรือตามบทบัญญัติของกฎหมาย หรือการประชุมสัมมนาทางวิชาการของสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่มีวัตถุประสงค์ทางวิชาการ การชุมนุมในระหว่างที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก และการชุมนุมสาธารณะที่จัดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการ หาเสียงเลือกตั้งในช่วงที่มีการเลือกตั้ง ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น (มาตรา 3)
สถานที่สำหรับการชุมนุม
u ห้ามมิให้จัดการชุมนุมสาธารณะในระยะรัศมี 150 เมตรจากพระบรมมหาราชวัง พระราชวัง วังของพระรัชทายาทหรือของพระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป พระราชนิเวศน์ พระตำหนัก หรือจากที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประทับหรือพำนัก หรือสถานที่พำนักของพระราชอาคันตุกะ
u ห้ามมิให้จัดการชุมนุมภายในพื้นที่ของรัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาล ทั้งนี้ เพื่อการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย ผบ.ตร. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจประกาศห้ามชุมนุมในรัศมีไม่เกิน 50 เมตร (มาตรา 7)
u ต้องไม่กีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริการสถานที่ทำการของหน่วยงานรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา และศาสนสถาน สถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ หรือสถานที่ทำการองค์การระหว่างประเทศ (มาตรา 8)
u สถานที่ที่หน่วยงานของรัฐจัดไว้สำหรับการชุมนุมสาธารณะ ตามมาตรา 9
. การแจ้งการชุมนุมสาธารณะ
หน้าที่ตามกฎหมายในการชุมนุม
ผู้จัดการชุมนุม ม.15 |
ผู้ชุมนุม ม.16 |
เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุม ม.19 |
1.ดูแลรับผิดชอบการชุมนุมให้เป็นไปโดยสงบ และปราศจากอาวุธ ภายใต้รัฐธรรมนูญ |
1.ไม่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ประชาชนที่จะใช้ ที่สาธารณะ |
1.อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่จะใช้ที่ สาธารณะอันเป็นที่ชุมนุม |
2.ดูแลรับผิดชอบการชุมนุมไม่ให้ขัดขวางประชาชน ที่จะใช้ที่สาธารณะ |
2.ไม่ปิดบังหรืออำพรางตนโดยจงใจมิให้ระบุตัว บุคคลได้ เว้นแต่ ตามปกติประเพณี |
2.รักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวก หรือบรรเทาเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่นซึ่งอยู่ใกล้เคียง |
3.แจ้งให้ผู้ชุมนุมทราบถึงหน้าที่ตาม ม.16 และ เงื่อนไขหรือคำสั่งเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุม |
3.ไม่พาอาวุธ ดอกไม้เพลิง สิ่งเทียมอาวุธปืน หรือ สิ่งอาจใช้ได้อย่างอาวุธ เข้าไปในที่ชุมนุม |
3.รักษาความปลอดภัยหรืออำนวยความสะดวก แก่ผู้ชุมนุมในสถานที่ชุมนุม |
4.ให้ความร่วมมือแก่เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุม |
4.ไม่บุกรุก ทำให้เสียหาย หรือทำลายทรัพย์สินผู้อื่น |
4.อำนวยความสะดวกในการจราจรและการขนส่ง |
5.ไม่ยุยงส่งเสริมหรือชักจูงผู้ชุมนุมให้ฝ่าฝืน ม.16 |
5.ไม่ทำให้ผู้อื่นกลัวว่าจะเกิดอันตราย |
สาธารณะในบริเวณที่ชุมนุม |
6.ไม่ปราศัยหรือจัดกิจกรรมโดยใช้เครื่องขยายเสียง เวลา 24.00 น. ถึง 06.00 น.ของวันรุ่งขึ้น |
6.ไม่ใช่กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้ชุมนุมหรือผู้อื่น |
5.กำหนดเงื่อนไขหรือมีคำสั่งให้ผู้จัดการชุมนุม ผู้ชุมนุม หรือผู้อยู่ภายในสถานที่นั้นปฏิบัติตาม |
7.ไม่ใช้เครื่องขยายเสียงที่มีระดับเสียงเกินกว่า 115 เดซิเบลเอ* |
7.ไม่ขัดขวางหรือกระทำการใดๆอันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุม |
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ |
(ตามประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงวันที่ 23 กันยายน 2558) |
8.ไม่เดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายการชุมนุมระหว่าง18.00 น. ถึง 06.00น. ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุม |
|
|
9.ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือคำสั่งเจ้าพนักงานฯ |
|
การดำเนินการของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมฯ
เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ ตาม ม.19*
ท้องที่เดียว คือ หัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะ
ต่อเนื่องหลายพื้นที่ คือ ผู้บังคับการหรือผู้บัญชาการตำรวจซึ่งรับผิดชอบพื้นที่
*กรณีเห็นสมควร ผบ.ตร.อาจแต่งตั้งข้าราชการตำรวจอื่นเพิ่มหรือแทนก็ได้
การดำเนินการในกรณีทั่วไป
1.แจ้งพนักงานฝ่ายปกครอง หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานประชาสัมพันธ์ในท้องที่ที่มีการชุมนุมนั้น เพื่อทราบ
2.ในการปฏิบัติหน้าที่ อาจมีคำสั่งให้ปิดหรือปรับเส้นทางการจราจรเป็นการชั่วคราวได้ เพื่อความสะดวกของประชาชนหรือการดูแลการชุมนุม
3.ก่อน ระหว่าง และภายหลังการชุมนุมสาธารณะ ให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของรัฐ จัดหรือประสานให้มีการประชาสัมพันธ์เป็นระยะเพื่อให้ประชาชนทราบถึงการชุมนุม และแนะนำเส้นทางจราจรหรือระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
กรณีการชุมนุมไม่เป็นไปตามกฎหมาย
กรณีการชุมนุมที่มีความรุนแรง
บทกำหนดโทษ
ม.27 |
ฝ่าฝืนสถานที่ชุมนุมตาม ม.7 หรือ ม.8 |
จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท |
ม.28 |
ฝ่าฝืนไม่แจ้งการชุมนุมตาม ม.10,ม.12,ม.17,ม.18 |
ปรับไม่เกิน 10,000 บาท |
ม.29 |
ฝ่าฝืนคำสั่งห้ามการชุมนุมตาม ม.11 |
จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท |
ม.30 |
ผู้จัดการชุมนุมไม่ปฏิบัติตาม ม.15 (1),(2),(3) หรือผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตาม ม.1 (1),(2) |
ปรับไม่เกิน 10,000 บาท |
ม.31
วรรค2 |
ผู้จัดการชุมนุมไม่ปฏิบัติตาม ม.15 (4),(5),(6),(7) หรือผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตาม ม.16 (3),(4),(5),(6),(7),(8) ถ้ากระทำต่อระบบขนส่งสาธารณะ การสื่อสาร โทรคมนาคม ระบบผลิตหรือส่งไฟฟ้า ประปา หรือสาธารณูปโภคอื่นทำให้ใช้การไม่ได้ |
จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
|
ม.32 |
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลหรือประกาศของเจ้าพนักงานฯ ตาม ม.19(5) หรือ ม.23 - ถ้าผู้นั้นเป็นผู้จัดการชุมนุมหรือผู้ชุมนุม - ถ้าเป็นผู้อยู่ภายในสถานที่ชุมนุม |
- จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท - ปรับไม่เกิน 10,000 บาท |
ม.33 |
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ควบคุมฯ หรือผู้ได้รับมอบหมายตาม ม.24, ม.25 |
จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท |
ม.34 วรรค2 |
พาอาวุธเข้าไปในที่ชุมนุม ถ้าเป็นอาวุธปืน วัตถุระเบิด หรือวัตถุอื่นใดในสภาพคล้ายคลึง |
จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท |
แบบคำขอ